ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สิ่งที่ชอบ&เกลียด


วันเกิดจร้า

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำตัว


ชื่อนางสาว น้ำฝน อรรคบุตร
ชื่อเล่นฝน
รหัส 50010211369
สาขาคณิตศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของ e-Commerce



1.ผู้ซื้อ (Customer)
2.ผู้ขาย (Warehouse หรือ โกดังสินค้า)
3.ระบบชำระเงิน (Banking)
4.ระบบขนส่ง (Shipping)

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่

ฮีตสิบสอง คือ จารีต ประเพณี 12 อย่าง อาจเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน ก็ได้ เพราะฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้

เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม

บุญเข้ากรรม ได้แก่ประเพณีทำบุญเข้ากรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคมนั่นเอง โดยมีมูลเหตุ เนื่องจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับตะไคร้น้ำขาดเป็นอาบัติ ครั้นถึงเวลาใกล้จะตายมองหาภิกษุสักรูปหนึ่งเพื่อจะแสดงอาบัติก็ไม่เห็น ครั้นมรณภาพไปแล้ว จึงเกิดเป็นพญานาคชื่อ เอรถปัต เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เกิดมีการเข้ากรรมขึ้นทุกปี เพื่อให้โอกาสแก่ภิกษุอาบัติที่ไม่มีโอกาสแสดงอาบัติได้แสดงและได้อยู่กรรมจนพ้นอาบัติในเดือนนี้

พิธีทำบุญเข้ากรรม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน
การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง


เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน

ลาน ในที่นี้คือ ลานนวดข้าว คือ เอาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมากองให้สูงขึ้น กริยาที่ทำให้ข้าวเป็นกองสูงขึ้น เรียกว่า คูณ หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วก็อยู่ในเดือนยี่หรือเดือนมกราคม ชาวนาก็จะทำบุญคูณลานหรือเรียกบุญเดือนยี่ก็ได้

มูลเหตุที่มีการทำบุญคูณลานนั้นมีว่า ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีชายพี่น้องสองคนทำนาร่วมกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำนม น้องชายอยากทำข้ามธุปกยาสถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ทำ จึงตกลงแบ่งนากัน เมื่อน้องชายได้กรรมสิทธิ์ในที่นาแล้วก็ทำทานถึง 3 ครั้ง คือ ตอนที่ข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้ง ฟาดข้าว 1 ครั้ง และขนข้าวขึ้นยุ้งอีก 1 ครั้ง ในการถวายทานทุกครั้งปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ ครั้นถึงสมัยพระโคดมก็ได้เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โกญทัญญะ ได้ออกบวชเป็นปฐมสาวก แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ส่วนพี่ชายถวายข้าวในในเพียงครั้งเดียวคือในเวลานวดข้าวเสร็จแล้ว และได้ตั้งปณิธานขอสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล และต่อมาได้เกิดเป็นสุภัททปริพาชก ได้บวชในศาสนาของพระโคดม แต่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโคดม คงเพียงได้กราบบังคมทูลถามข้อสงสัยในขณะที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน เมื่อได้ฟังดำรัสแล้วก็สำเร็จเป็นพระอนาคา และเป็นอริยสงฆ์องค์สุดท้ายในสมัยพุทธกาล

พิธีทำบุญคูณลาน ในตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนอาจมีการคบงันบ้าง ตอนเข้าถวายภัตตาหารบิณฑบาตร เทศนาฉลองสู่ขวัญลาน เลี้ยงอาหารแก่ผู้ไปร่วมพิธี พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำมนต์ไประข้าว วัว ควาย เชื่อว่าเข้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าว คือ เชิญเจ้าแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
การทำบุญคูณลานนี้ทำขึ้นเฉพาะนาใครนามัน ทำส่วนตัว แต่ถ้าทำส่วนรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญคุ้ม หรือ บุญกุ้มข้าวใหญ่ คนทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกัน โดยมีการปลูกปะรำขึ้น มีการนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมกัน มารับศีลฟังธรรมถวายอาหารพระสงฆ์ อันนี้เรียกว่า บุญคุ้ม แต่ถ้าเป็นบุญคุ้มข้าวใหญ่ก็มีการนำข้าวเปลือกมารวมกัน ทำพิธีเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สถานที่ ซึ่งต้องใช้ศาลาโรงธรรมหรือศาลากลางบ้าน


เดือนสาม - บุญข้าวจี่

ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วทำเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ด ขนาดใหญ่เสียบไม้ย่างไฟให้เกรียม ทาไข่ไก่หรือไข่เป็ดแล้วย่างให้สุกดีอีกครั้ง

การทำบุญข้าวจี่เป็นอาหารถวายทานมีผู้นิยมทำกันมาก เชื่อว่าได้กุศลมากเป็นกาละทานอย่างหนึ่ง ทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) โดยมีมูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวจี่นั้นว่า ครั้งพุทธกาลนางปุณณทาสีทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ตอนแรกนางคิดว่าถวายแล้วพระพุทธองค์คงจะไม่ฉัน เพราะเป็นอาหารพื้น ๆ พระพุทธองค์พรงทราบวาราจิตของนางปุณณทาสี ก็ทรงสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนาและทรงประทับนั่งละเสวยข้าวจี่ตรงนั้นทันที เป็นเหตุให้นางปุณณทาสีเกิดความปิติยินดีอย่างที่สุด เมื่อเสวยเสร็จพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้นางปุณณทาสีฟัง หลังจากฟังแล้วนางก็ได้บรรลุโสดาบันติผล เพราะเหตุนี้บรรดาชาวนาจึงถือเป็นนิมิตหมายในการทำบุญข้าวจี่หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่ออานิสงส์ทำนองนั้น

พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมอุปกรณ์การทำข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านอาจไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้ายข้าวจี่ พอพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี

เดือนสี่ - บุญพระเวส

พระเวสฯนั้นหมายถึง พระเวสสันดร บุญพระเวส ได้แก่ประเพณีทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งมักทำกันในเดือน 4 หรือเดือนมีนาคม มีมูลเหตุว่า เมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย์ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยว่ามนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาจะพบศาสนาของท่าน ก็สั่งกับพระมาลัยให้ลงมาบอกกับมนุษย์ทั้งหลายว่า ถ้าหากปรารถนาเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว ขอจงอย่าฆ่าตีกัน โบยพ่อแม่สมณชีพราหมณาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเวสให้จบได้ในวันเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดประเพณีบุญพระเวสฯ

พิธีทำบุญพระเวส เมื่อกำหนดวันทำบุญแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมอาหารและที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้มาร่วมงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงไว้ให้พร้อมและเตรียมเครื่องบูชาไว้ล่วงหน้า ได้แก่ หมาก เมี่ยง เทียน ธูป ปืน ดาบ ข้าวตอกดอกไม้ นอกจากนี้มีเครื่องประดับและบูชาอื่น ๆ อีก วันแรกซึงเป็นวันรวมหรือวันโฮม ตอนเข้ามีการนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอข้างศาลาโรงธรรมตั้งแต่เช้ามืด ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญและแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมือง กลางคืนตอนหัวค่ำ มีอาราธนาพระสวดพระพุทธมนต์ เทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน พอจวนสว่างมีการประกาศป่าวเทวดา และอาราธนาพระเทศน์สังกาสและอาราธนาเทศน์มหาชาติต่อ โดยขึ้นจากกัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์นคร มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ เมื่อจบมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้ง
เดือนสี่ - บุญพระเวส

พระเวสฯนั้นหมายถึง พระเวสสันดร บุญพระเวส ได้แก่ประเพณีทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งมักทำกันในเดือน 4 หรือเดือนมีนาคม มีมูลเหตุว่า เมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย์ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยว่ามนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาจะพบศาสนาของท่าน ก็สั่งกับพระมาลัยให้ลงมาบอกกับมนุษย์ทั้งหลายว่า ถ้าหากปรารถนาเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว ขอจงอย่าฆ่าตีกัน โบยพ่อแม่สมณชีพราหมณาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเวสให้จบได้ในวันเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดประเพณีบุญพระเวสฯ

พิธีทำบุญพระเวส เมื่อกำหนดวันทำบุญแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมอาหารและที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้มาร่วมงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงไว้ให้พร้อมและเตรียมเครื่องบูชาไว้ล่วงหน้า ได้แก่ หมาก เมี่ยง เทียน ธูป ปืน ดาบ ข้าวตอกดอกไม้ นอกจากนี้มีเครื่องประดับและบูชาอื่น ๆ อีก วันแรกซึงเป็นวันรวมหรือวันโฮม ตอนเข้ามีการนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอข้างศาลาโรงธรรมตั้งแต่เช้ามืด ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญและแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมือง กลางคืนตอนหัวค่ำ มีอาราธนาพระสวดพระพุทธมนต์ เทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน พอจวนสว่างมีการประกาศป่าวเทวดา และอาราธนาพระเทศน์สังกาสและอาราธนาเทศน์มหาชาติต่อ โดยขึ้นจากกัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์นคร มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ เมื่อจบมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้ง


เดือนห้า - บุญสงกรานต์

คำว่า "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่า "สงกรานต์" ปีหนึ่งมี 12 ราศี แต่วันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นราศีเมษ เราเรียกเป็นพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาขึ้นปีใหม่ตามคติโบราณ

มูลเหตุที่จะมีบุญสงกรานต์มีเรื่องเล่าว่า กบิลพรหมจากพรหมโลกมาถามปัญหาธรรมบาล 3 ข้อ คือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ เวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหน ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าธรรมบาลตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผลัดให้เจ็ดวัน ในขั้นเเรกธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหกธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า เผอิญแอบได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบสู่กันฟังว่า ตอนเข้าศรีอยู่ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้า ตอนกลางวันหรือเที่ยงศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมหน้าอก ตอนกลางวันและตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าในตอนเย็น ธรรมบาลมีความรู้ภาษานกจึงจำคำตอบได้ ถึงเจ็ดวันถ้วน กบิลพรหมมาทวงปัญหา ธรรมบาลตอบได้ตามที่ได้ยินนกพูดกัน กบิลพรหมจึงตัดศีรษะตนบูชาตามสัญญา แต่ศีรษะกบิลพรหมศักดิ์สิทธิ์ หากตกใส่ดินไฟจะไหม้ ตกใส่อากาศฝนจะแล้ง และถ้าทิ้งใส่ในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง กบิลพรหมจึงให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งมีชื่อว่า ทุงษ โคราด รากษส มัณฑา กิริณี กิมิทา และมโหทร เอาพานมารองรับศีรษะของตนไว้ แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที จึงนำศีรษะกบิลพรหมไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปในถ้ำคันธุลี เขาไกรลาส ครบหนึ่งปีธิดาทั้งเาจ็ดจะผลัดเปลี่ยนกันมาอัญเชิญศีรษะของกบิลพรหม แห่รอบเขาพระสุเมรุครั้งหนึ่ง พิธีแห่เศียรกบิลพรหมนี้ทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้น

พิธีทำบุญสงกรานต์ นิยมทำในเดือนห้า โดยเริ่มตั้งแต่วันทื่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน โดยวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ นที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา และวันที่ 15 เมษายน คือวันสุดท้ายเป็นเถลิงศก ชาวอีสานโบราณถือเป(นวันขึ้นปีใหม่ วันแรกมีพธธีสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ตอนกลางคืนอาจมีการคบงันที่วัด มีการละเล่นต่าง ๆ และมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันตลอด 3 วัน คือวันที่ 13-14-15 เมษายน ในวันที่ 15 เมษายนบางแห่งตอนเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายมีการแขวนธงยาวและก่อเจดีย์ทรายที่วัด นอกนี้มีการสรงน้ำพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การแห่ข้าวพันก้อน และการแห่ดอกไม้ด้วย


เดือนหก - บุญบั้งไฟ

นิยมทำกันในเดือนหก มูลเหตุจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อทำบุญบั้งไฟแล้วเชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ และประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

พิธีทำบุญบั้งไฟ หมู่บ้านและวัดเจ้าภาพจะเตรียมทำบั้งไฟ เตรียมที่พักและสุรา อาหารไว้ต้อนรับผู้มาร่วมงาน มีการบอกบุญไปยังวัดและหมู่บ้านใกล้เคียง ให้ทำบั้งไฟและเชิญสคนมาร่วมงาน บางแห่งมีการประกวดบั้งไฟและขบวนแห่ด้วย ในงานวันแรก ชาวบ้านในหมู่บ้านที่ได้รับเชิญ และพระภิกษุสามเณรที่ได้นิมนต์มาร่วมงานพร้อมบั้งไฟ วันแรกจะมีการแห่บั้งไฟ ประกวดบั้งไฟและขบวนแห่(ถ้ามี) และแสดงการเล่นต่าง ๆ เช่น การเซิ้ง และการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น วันรุ่งขึ้นมีการละเล่นต่ออีก ในงานมักมีพิธีบวชนาค และบางที่มีพิธีฮดสรง หรือเถราภิเษก แด่พระภิกษุสามเณร ผู้เห็นว่าเป็นผู้ทรงธรรม เพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณด้วย ตอนบ่ายของวันที่สองของงานจึงนำบั้งไฟไปจุด ณ ที่นั่งร้านที่จัดไว้เป็นเสร็จพิธี


เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ

บุญซำฮะนิยมทำกันในเดือนเจ็ด จัดทำขึ้นเพื่อชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรต่าง ๆ ออกจากหมู่บ้าน ตำบล เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนหายจากเหตุเภทภัยต่าง ๆ และอยู่เย็นเป็นสุข

มูลเหตุที่จะมีการทำบุญซำฮะ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาลที่เมืองไพสาลีเกิดทุพภิกขภัย เพราะฝนแล้ง ผู้คนอดอยากล้มตายมากมาย ชาวเมืองจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไประงับเหตุเภทภัย พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด โดยให้พระอานนท์เรียนคาถาแล้วไปสวดมนต์ในเมือง พร้อมนำบาตรน้ำมนต์ของพระองค์ไปประพรมจนทั่วเมืองทำให้ฝนตก ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้เกิดประเพณีทำบุญซำฮะตั้งแต่นั้นมา

พิธีทำบุญซำฮะ ชาวบ้านจัดทำปะรำขึ้นในบริเวณหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง มีต้นกล้วยผูกเสาปะรำสี่มุม จัดอาสนะสงฆ์ เตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัย ด้ายสายสินจน์ น้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน เครื่องไทยทาน กรวดทราย หลัดไม้ไผ่แปดหลัก ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายภัตตาหาร ทำพิธีอยู่สามคืน เข้าวันสุดท้ายถวายสังฆทาน เสร็จพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ แล้วคนเฒ่าคนแก่ผูกแขนให้ชาวบ้าน หว่านกรวดทรายทั่วละแวกบ้าน เอาหลักแปดหลักไปตอกไว้ในทิศทั้งแปดของหมู่บ้าน วงด้ายสายสิญจน์รอบหมู่บ้าน และชาวบ้านนำสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอย ภาชนะชำรุด และสิ่งที่จะทำให้เกิดสกปรก ฯลฯ ไปทิ้งนอกหมู่บ้าน หรือทำการเผาหรือฝัง ให้บริเวณบ้านสะอาดเรียบร้อย เป็นเสร็จพิธี


เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา

ถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด เป็นวันทำบุญ การเข้าพรรษาได้แก่ พระภิกษุสามเณร อยู่ประจำวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปค้างคืนที่อื่น นอกจากไปด้วยสัตตาหกรณียะ คือการไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษา เมื่อมีเหตุจำเป็น ได้แก่
1. สหธรรมิก (ผู้มีธรรมอันร่วมกัน) หรือมารดาบิดาป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาล
2. สหธรรมิกกรวะสันจะสึก ไปเพื่อระงับ
3. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุด ไปเพื่อปฏิสังขรณ์
4. ทายกบำเพ็ญกุศล ส่งมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธา
แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ ที่เป็นกิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างคืนที่อื่นได้ และต้องกลับมาภายใน 7 วัน

มูลเหตุมีการเข้าพรรษาเนื่องจากสมัยพุทธกาาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอย่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า "ฉับพัคคีย์" ได้เที่ยวไปทุกฤดูกาล ไม่สหยุดพักเลย โดยเฉพาะฤดูฝนอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้า และหญ้าระบัดใบ ตลอดสัตว์เล็กเป็นอันตราย ประชาชนทั่วไปพากันติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรจำพรรษาตามกำหนดเวลาดังกล่าว

พิธีทำบุญเข้าพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด ชาวบ้านมีการถวายภัตตาหารเข้าหรือเพล พร้อมเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ เช่น ไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค เป็นต้น โดยเฉพาะเครื่องให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียง น้ำมัน เป็นต้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เชื่อว่าถวายแล้วทำให้ตาทิพย์และสติปัญญาดี จอกจากนี้ มีการถวายต้นเทียน ซึ่งหล่อเป็นเล่ม หรือแท่งขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงาม และผ้าอาบน้ำฝน ตลอดบริวารอื่น ๆ แด่พระสงฆ์ มีการสวดมนต์ และฟังเทศน์ด้วย

เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดินจะประกอบด้วย ข้าว อาหารคาวหวาน หมากพลูและบุหรี่ ซึ่งเราห่อหรือใส่กระทงไปวางไว้ตามพื้น หรือแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัด

มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวประดับดินมีว่า ครั้งสมัยพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสารไปกินอาหารของพระสงฆ์ ตายไปแล้วจึงเกิดเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์แล้ว มิได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ถึงเวลากลางคืนจึงพากันมาส่งเสียงรบกวนเพื่อขอส่วนบุญ พระเจ้าพิมพิสารจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแจ้งเหตุให้ทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงีราบ จึงถวายสสังฆทานแล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกกุศลไปให้ญาติพี่น้อง จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดินขึ้น

พิธีทำบุญข้าวประดับดิน ในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมนิยมถวายทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ และมีการเตรียมอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ โดยห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทง รุ่งเช้าในวันแรม 14 ค่ำ เวลาประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา นำห่อหรือกระทงที่เตรียมไว้ไปถวายหรือแขวนในบริเวณวัด ในการวางสิ่งของเพื่ออุทิศให้เปรตหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วดังกล่าว บางท้องถิ่นอาจทำก่อนถวายทานก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวประดับดิน

เดือนสิบ - บุญข้าวสาก

ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายหรือเปรตผู้เป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท) ไปถวายพระภิกษุสามเณร

มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวสากมีว่า บุตรกุฏมณีผู้หนึ่งเมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้ว แม่ก็หาภรรยาให้ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน แม่จึงหาหญิงอื่นให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉาจึงคิดฆ่าเมียน้อยและลูก ก่อนตายเมียน้อยคิดอาฆาตเมียหลวง ชาติต่อมาทั้งสองเกิดเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ และอาฆาตเข่นฆ่ากันเรื่อยมา จนชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีจองเวรได้มากินลูกของผู้เป็นคนถึงสองครั้ง พอเกิดลูกคนที่สามยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงคนนั้นพร้อมลูกและสามี จึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกัน และโปรดให้ทางยักษิณีไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา นางยักษิณีมีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานจึงถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากสืบต่อมาและมีการเปลี่ยนเรียกนางยักษิณีว่า ตาแฮก

พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำเอาห่อหรือชะลอมหรือข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก

เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา

ประเพณีบุญออกวัสสา หรือ บุญออกพรรษา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์ทำพิธีออกพรรษาตามหลักธรรมวินัย คือ ปวารณาในวันเพ็ญเดือน 11 ญาติโยมทำบุญถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บางแห่งนิยมทำการไต้น้ำมัน หรือไต้ประทีป และพาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ไปถวายพระสงฆ์

มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญออกพรรษามีว่า เนื่องจากพระภิกษุสามเณรได้มารวมกันอยู่ประจำที่วัด โดยจะไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากเหตุจำเป็นเป็นเวลา 3 เดือน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะมาร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณ์ คือการเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งภายหลังนั้นพระภิกษุสสามเณรส่วนมากจะแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามในชอบ และบางรูปอาจจะลาสิกขาบท โอกาสที่พระภิกษุสามเณรจะอยู่พร้อมกันที่วัดมาก ๆ เช่นนี้ย่อมยาก ชาวบ้านจึงถือโอกาสเป็นวันสำคัญไปทำบุญที่วัด และในช่วงออกพรรษาชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่นา และอากาศสดชื่นเย็นดี จึงถือโอกาสทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน

พิธีทำบุญออกพรรษา วันขึ้น 14 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันน้อย วันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันใหญ่ ส่วนวันแรม 1 ค่ำ ตอนเช้ามีการตักบาตร หรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหาร มีการไต้น้ำมันล้างหางประทีป มีการถวายผ้าห่มหนาวพระภิกษุสามเณร บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรับศีล ฟังเทศน์ ตอนค่ำจะมีจุดประทีป นอกจากนี้บางท้องถิ่นจะมีการถวายต้นพาสาดเผิ่ง หรือปราสาทผึ้ง ล่องเรือไฟ เพื่อเป็นการบูชาและคารวะพระแม่คงคา และการส่วงเรือ(แข่งเรือ) เพื่อความสนุกสนานและร่วมสามัคคี



เดือนสิบสอง - บุญกฐิน

บุญกฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย

มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด

ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
ข. มหากฐิน
ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน

พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี


คลองสิบสี่

คลองสิบสี่ หมายถึง แนวทางหรือข้อวัตรที่ประชาชนทั่วไปตลอดจนผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ 14 ข้อ เป็นจารีตประเพณีและทำนองคลองธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของบ้านเมือง ซึ่งอาจสรุปได้ 2 ประการ คือ สำหรับพระมหากษัตริย์และผู้ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ และสำหรับบุคคลธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนอยู่กันด้วยความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดข้อปฏิบัติทางศาสนาเป็นหลัก


ที่มา http://www.isan.clubs.chula.ac.th/moonmang/heet12clong14/intro.html

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า
อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ….”


บทความข้างต้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า “ผญา” เป็นบทกลอนของคนอีสาน
สำหรับความหมายของคำผญาข้างต้นมีใจความรณรงค์ให้คนไทยร่วมกันอนุรักษ์
สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปเผื่อว่าวัฒนธรรมเหล่านี้จะสามารถนำ
ความเจริญมาสู่ประเทศของเราก็ได้ สำหรับศิลปวัฒนธรรมอีสานนั้นมีมากมายหลายอย่าง
วัฒนธรรมอีสานของชาวอีสานทุกสาขาที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมไว้
จะเป็นวัฒนธรรมเกี่ยวกับชาติ ศาสนา ศิลปะ วิทยา จารีตประเพณี วรรณคดี
ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์
เครื่องใช้ในครัวเรือน
ไห คือภาชนะที่ใช้บรรจุปลาร้า หรือหน่อไม้ดอง หรือบรรจุของดองอย่างอื่น มีลักษณะคล้ายโถโบราณ
ค่อง คือภาชนะที่สานโดยไม้ไผ่ กลวง น้ำไหลเข้าออกได้ เป็นรูปคล้ายโถโบราณ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุสัตว์น้ำ
หวด คือภาชนะที่สานโดยไม้ไผ่เป็นรูปกรวย ใช้สำหรับนึ่ง
กระติบข้าว คือภาชนะที่สานโดยไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก เพื่อบรรจุข้าวเหนียวนึ่ง
กระด้ง คือภาชนะกลมที่สานโดยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายถาด มีไว้สำหรับวางข้าวเหนียวที่นึ่งร้อนให้เย็นลง และใช้แทนถาดได้ด้วย

หมอลำ
ลำ” สามารถมองออกได้ในสองลักษณะเพื่อหาความหมายคือ แสดงออกเป็นกิริยา หมายถึงการขับร้อง คือ การนำเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาขับร้องเป็น บทกลอนทำนองทีเป็นภาษาอีสาน แสดงออกเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรื่องของการขับร้องหรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว”หมอลำ” หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลาย ๆ เรื่อง
วิวัฒนาการของหมอลำ
เดิมทีสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกัน มากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่นเรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตร ีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่นยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อย ๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครใน เรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกงตัวตลก เสนา ครบถ้วน

หมอลำกลอน
หมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน
การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบัน ได้วิวัฒนการมาเป็นหมอลำซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมใน ปัจจุบัน

หมอลำกลอนซิ่ง
หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดง ของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัย คือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบ
แคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยมปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกนคีย์บอร์ดมาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากลเพลงสตริงเพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วยลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยม อีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆรูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมีหมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้าง ๆเพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเองซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ



หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน
เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงมีอุปกรณ์ประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมี.เครื่องดนตรีประกอบ
แต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่อง ค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง(หมอลำ) มาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟู มากที่สุดคณะหมอลำดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามอุบลราชธานี หมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอนลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธิ์ มหาสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น


ฮีต 12
คนอีสาน มีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่น มาแต่โบราณกาลแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคลอง …ต้องปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดี
และพูดจนติด ปากว่า “ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่”
ทีมาhttp://www.baanmaha.com/blog/

วันครู 2553 อำเภอจอมบึง


เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2553 เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เครือข่ายที่ 6 และ 7 ได้จัดงานวันครู ประจำปี 2553 ของคณะครูอำเภอจอมบึง โดยจัดกิจกรรมทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธี ปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกบูรพาจารย์ และกิจกรรมเพื่อความสามัคคี ระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู




ที่มาhttp://www.thai-school.net/view_activities.php?ID=69817

โฆษณา 7-Eleven ชุด ครูฝึกสอน (วันครูปี 2553)

อบจ.อุบลฯ จัดงานวันครู ประจำปี 2553 “น้อมวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที”

วันที่ 16 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นวันครูของคนไทย ประจำปีนี้ เวลา 09.00 น. กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.อุบลฯ ได้จัดงานวันครูขึ้น ณ ศูนย์โอท็อปเซ็นเตอร์ อบจ.อุบลฯเพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณครูและเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อครูและเห็นความสำคัญของบุคคลที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างกับศิษย์ทุกคน เป็นที่ประจักษ์ให้เห็นวิธีชีวิตที่งอกงาม เจริญก้าวหน้าในทุกวิชาชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดย มีนายพรชัย โควสุรัตน์ นายกอบจ.อุบลฯ เป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้มีผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร เข้ารวมกิจกรรมกล่าว 500 คน ซึ่ง อบจ.อุบลฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่วนในปีนี้มีโรงเรียนในสังกัด อบจ.อุบลฯ ทั้ง 12 โรงเรียน คือโรงเรียนพิบูลมังสาหาร โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยา โรงเรียนแก้งเหนือวิทยา โรงเรียนนาคำวิทยา โรงเรียนเหล่างามวิทยา โรงเรียนนาสะไมวิทยา โรงเรียนโนนกลางวิทยา โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 (ช่องเม็ก) โรงเรียนบัวงามวิทยา โรงเรียนห้วยข่าวิทยา และโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา ร่วมกิจกรรม

โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ภายหลังจากที่นายพรชัย โควสุรัตน์ ประธานในพิธีจุดเทียนธูป บูชาพระรัตนตรัยแล้ว พระสงฆ์ 9 รูปนำโดย เจ้าคณะจังหวัดอุบลฯให้ศีล จากนั้นเจริญพระพุทธมนต์ ประธานใน พิธีพร้อมคณะผู้บริหาร ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา จากนั้นนักเรียนร่วมร้องเพลงประสานเสียง ว่าที่ร้อยตรีสุรพล สืบพรหม ผู้อำนวยการกองการศึกษาสาสนาและวัฒนธรรมอ่านสารวันครู จากนั้นนายนกุล เขียวอ่อน กล่าวนำพิธีสวดคำระลึกถึงพระคุณบูรพคณาจารย์ จากนั้นประธานในพิธี กล่าวถึงความสำคัญของวันครู จากนั้นทำพิธีมอบเกียรติบัตร และรางวัลแด่ครูดีเด่น เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง การเป็นครูอย่างมืออาชีพ โดย อาจารย์ ดร.สมานจิต ภิรมย์รื่น และเวลาประมาณ 13.00 น. เป็นกิจกรรการแข่งขันกีฬา อาทิ การแข่งขันฟุตบอล กีฬาพื้นบ้าน การประกวดกองเชียร์ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูจากสถานศึกษาในสังกัดฯ ทั้ง 12 แห่ง

ด้านนายพรชัย โควสุรัตน์ นายก อบจ.อุบลฯ กล่าวถึง ความสำคัญของวันครู ว่า อบจ.อุบลฯ จัดงานวันครูขึ้น ปีนี้เป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงบูรพจารย์ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู ทั้ง 12 โรเรียน รวมทั้งบุคลากรในองค์กรต่างๆ ไปจนถึงประชนทั่วไป เป็นการสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและธำรงซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของไทย พร้อมกล่าวขอบคุณและในการทำงานร่วมกันของคุณครูทั้ง 12โรงเรียน ที่ร่วมกันพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป นายพรชัยกล่าว

ด้าน นางสาวณัฐวรรณ ดอกจันทร์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร กล่าวว่า “วันนี้มาร่วมงานวันครู เพื่อร่วมแสดงการขับร้องเพลง สำหรับครูในความหมายของหนู คือ ผู้ที่ให้ทุกอย่าง สอนทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเรียน และเรื่องการดำรงชีวิตในสังคม ครูถือเป็นผู้ให้ สำหรับวันครูปีนี้อยากให้คุณครูมีความสุข และสุขภาพแข็งแรงเป็นร่มโพธิ์ของศิษย์ตลอดไป”

ด้านนายณรงค์พล มั่นคง นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร กล่าวว่า “ครู ในความหมายของผม คือ ผู้ที่ให้ความรู้ อบรมสั่งสอนผมทุกอย่าง ในชีวิตการเรียนที่ผ่านมาผมมีความตั้งใจมากขึ้นจนมีวันนี้ คือ ได้ทำตัวเป็นเยาวชนที่ดีเพราะจากการที่ได้รับคำสอนจากคุณครู ทั้งจากคำติ คำชม แต่ล้วนเป็นคำสอนที่มีค่ามาก ครับ”

สำหรับความสำคัญของวันครู คือ เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ที่มา http://guideubon.com/news/view.php?t=115&s_id=1172&d_id=1174

คณะครูโรงเรียนบ้านขนายดี ร่วมงานวันครู 2553

คณะครูโรงเรียนบ้านขนายดี ร่วมงานวันครู 2553 ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมาโดยร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีบูชาบูรพาจารย์ แสดงความยินดีกับท่านผอ.พิพัฒน์ สุคนธพงศ์ ประธานกลุ่มบิงชมพู (ผู้บริหารดีเด่น - ครูดี ศรีโคราช) แสดงความยินดีกับครูประคอง มุ่งพึ่งกลาง และครูพิพัฒน์ แย้มกลาง (ครูดีเด่น - ครูดี ศรีโคราช) แข่งขันกีฬา และงานเลี้ยงสังสรรค์

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

งานวันครู โรงเรียนบ้านโนนสัง



โรงเรียนบ้านโนนสัง ร่วมงานวันครู อำเภอสีดา วันที่ 16 มกราคม 2553 โดยคณะครูเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน นำโดยท่านผู้อำนวยการ จรัล พีรวิชญานนท์ และท่านรองผู้อำนวยการ รวิสรา ศรีเหม่น

คณะครูร่วมงาน

ตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนสีดาวิทยาร้องเพลงพระคุณที่สาม




ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเสว ครูฐิติวรรณ บุญวีรบุตร

ครูผู้สอนดีเด่น คุรุสภา ปี2552




ครูเยาวลักษณ์ หวัง












ที่มา:http://www.nonsang.ac.th/?name=knowledge&file=readknowledge&id=12








วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบในการสร้าง Website ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้จริงบนตลาด Internet จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย ดังนี้



  1. กำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการขององค์กรให้ชัดเจน (Grouping)

  2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายใด

  3. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า ต้องการอะไรจากการลงทุนทำ Website

  4. กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด Online

  5. กำหนดโครงสร้างของ Website ให้ชัดเจน

  6. กำหนดทิศทางและแนวทางการออกแบบของ Website

  7. กำหนดข้อมูลที่อยู่ภายใน Website ทั้งหมด (Site Concept & Contents)

  8. กำหนดโปรแกรมที่นำเข้ามาใช้สร้าง Website ให้ชัดเจน (Developer Tools)


ที่มา http://blog.jaideehosting.com/category/e-commerce/

รูปแบบการทำธุรกิจออนไลน์ E-Commerce

E-Commerce คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถทำการ เลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ข้อดี

1.เปิดทำการค้าขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.ทำการค้าขายได้ทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณในการลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย

1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ประเภทของ E-Commerce
1. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) หรือ C2B เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า
2. การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า) กับ Business ( ผู้ทำการค้า) หรือ B2B เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3. การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) หรือ B2C เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน
4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกัน หรือ C2C เช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคที่สนใจต้องการซื้อรถยนต์

ที่มา:http://blog.jaideehosting.com/2009/07/15/e-commerce/

E-Commerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) คืออะไร............



ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆก็คือการทำ ”การค้า”ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่ จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

ที่มา: http://www.makewebeasy.com/article/HowtoEcommercewebsite1..html

free counters

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสวัสดีปีใหม่2553 จังหวัดศรีสะเกษ


จังหวัดศรีสะเกษเปิดงานเทศกาลปีใหม่และงานกาชาด ปี 2553 เพื่อร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และหารายได้ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรผู้ประสบสาธารณภัยและผู้ด้อยโอกาส ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ในเย็นวันนี้ (26 ธันวาคม 2552) นายระพี ผ่องบุพกิจผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานพิธีเปิดงานเทศกาลปีใหม่และงานกาชาด จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2553 ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษและเหล่ากาชาดจังหวัดศรีสะเกษ มีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการจัดหารายได้ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ผู้ประสบสาธารณภัย ผู้พิการผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานของหน่วยงานส่วนราชการต่างๆ และการจัดกิจกรรมฉลองส่งท้ายปีเก่าตอนรับปีใหม่ สำหรับในพิธีเปิดงานเทศกาลปีใหม่และงานกาชาดจังหวัดศรีสะเกษ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบเสื้อสามารถ รวมทั้งโล่เกียรติคุณและเงินรางวัลแก่นักกีฬาที่เป็นชาวจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้สร้างชื่อเสียงแก่จังหวัดในฐานะที่เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ที่ได้รับรางวัลเหรียญรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ณ กรุงเวียงจันท์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีนักกีฬาเหรียญทอง รวม 3 คน เหรียญเงิน 4 คนและเหรียญทองแดง 2 คน สำหรับในงานมีการออกร้านแสดงนิทรรศการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากทุกอำเภอ รวมทั้งการประกวดผลผลิตการเกษตร การแสดงบนเวที ดนตรี การประกวดธิดาสี่เผ่าไทย การประกวดหนูน้อยกาชาด มีการจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรมความรู้วิชาการด้านการเกษตร การโชว์เทคโนโลยี่ด้านหุ่นยนต์ระดับประเทศ และการจัดกิจกรรมเคาท์ดาว์นปีใหม่และการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นใหม่ ปี 2553 ด้วย นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า รายได้จากการจัดงานกาชาด จะถูกนำไปใช้ในการบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรอย่างแท้จริง ไม่เน้นเฉพาะการสงเคราะห์ แต่จะดำเนินการพัฒนาให้ผู้ประสบสาธารณภัย ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ภาพกิจกรรมเรื่อง --> จังหวัดศรีสะเกษเปิดงานเทศกาลปีใหม่และงานกาชาด ปี 2553

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสวัสดีปีใหม่2553 จังหวัดมหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคามได้กำหนดจัดงานทำบุญตักบาตรงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ประจำปี 2553 ขึ้นในวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553 เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 07.00 น. ณ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา ถนนผดุงวิถี และถนนนครสวรรค์ ถึงสี่แยกสถานีตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม โดยมีประชาชน พ่อค้า ข้าราชการทุกหมู่เหล่า นำข้าวสารอาหารแห้งมาร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นศิริมงคลให้กับตนเองและ ครอบครัว และเพื่อสืบสานประเพณีของไทยอันดีงามไว้ให้ลูกหลาน และเพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่างคนก็อธิษฐานให้คอบครัวมีความสุขและให้ประเทศชาติสมานสามัคคีกัน โดย มีพระภิกษุสงฆ์ ทั้ง 17 วัด มาให้ประชาชนได้ตักบาตร และมีผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวอวยพรปีใหม่ให้กับประชาชน

ที่มาของการตักบาตร การทำบุญตักบาตรนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาตก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า ๒ คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง

ที่มา:http://www.sarakhamclick.com/sarakham/forum/index.php?board=13;action=display;threadid=189

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

กลุ่มชนชาวไทยอิสาน (ลาวอิสาน)

ลักษณะการแต่งกาย

ชายนิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย โบราณจริงๆ นิยมนุ่งผ้ากูด (หัวรูด) สวมเสื้อม่อฮ่อม ซึ่งทอเอง ตัดเอง สวนมากเป็นสีคราม จนนิยมพูดกันว่า นุ่งเสื้อจุบคาม ผู้ชายจะผุกผ้าขาวม้าคาดเอว ส่วนผู้หญิงจะให้ผ้าไหมพาดบ่า


ด้านการอยู่การกิน

ชาวไทยอิสานจะกินอยู่กันแบบง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากนัก บางคนยังชอบกินของสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพราะเนื้อ โค กระบือ จะนิยมรับประทานกันแบบสดๆ ถ้าผสมด้วยเลือดสดจะกินกันอย่างเอร็ดอร่อยมาก ชอบรับประทานพวกแมลงต่างๆ กินสัตว์ป่า เช่น พวกกิ่งกา งูสิง เป็นต้น กินจิ้งรีด ตั๊กแตน สารพัดสัตว์ที่มีในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันนี้การรับประทานของชาวบ้านชาวเมืองทุกสวนของจังหวัดบุรีรัมย์จะนิยมปรุงให้สุกเสียก่อนเพื่อลดโรคพยาธิและเป็นวัฒนธรรมที่เป็นสากลทั่วไป

อาหารหลัก เดิมทีรับประทานอาหารยังบริโภคข้าวเจ้า ข้าวเหนียว กับข้าวเป็นอาหารทั่วๆไป รวมทั้งแจ่วปลาร้า(แจ่วบอง) แต่ปัจจุบันประชากรร้อยละ 80 ของจังหวัด จะบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก

การอยู่ ก็จะรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ ที่อยู่ที่นอนก็พอเหมาะสมตามสมควรแก่ฐานะของตนเอง คนมีฐานะก็จะสะอาด ดูสวยงาม คนฐานะไม่ค่อยดี ก้ไม่สะอาดเท่าที่ควร

เรื่องกิริยามารยาท

ชาวไทยอิสานจะเป็นคนอ่อนโยน เชื่อในคำสอนของพระพุทธศาสนา เมื่อแสดงความไม่เคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ จะกลัวเป็นบาป ดังนั้นชาวไทยอิสานจึงเคารพเชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่ล่างเกิน (ค่อนข้างจะหัวอ่อน)

ที่อยู่ : คณะวิทยาศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม