ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ศิลปวัฒนธรรมอิสาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่นิยมเรียกกันจนติดปากว่า ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น มีความหลากหลายทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ด้วยขนาดของภูมิภาคที่กินพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของพื้นแผ่นดินไทย จึงทำให้ภูมิภาคแห่งนี้มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศและมีความหลากหลายของเชื้อชาติประชากรอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ มากที่สุด เช่น ปัญหาความแห้งแล้ง ความยากจน การอพยพย้ายถิ่นของประชากรเพื่อหางานทำ ปัจจุบันปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไขไปบ้างแล้วทำให้ภาคอีสานทุกวันนี้มีความเจริญเท่าเทียมกับภาคอื่นๆ

ภาษา
ประชากรในภาคอีสานส่วนใหญ่พูดภาษาไทยสำเนียงอีสานซึ่งมีความแตกต่างกันด้านสำเนียงในแต่ละท้องที่ หรือพูดภาษาท้องถิ่นของตนเองที่มีมากมายหลายภาษา แต่ประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในปัจจุบันสามารถพูดสำเนียงไทยภาคกลางได้เป็นอย่างดี ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชายไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันประชากร วัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่พบเห็นในที่อื่น ๆ ของประเทศ แต่ก็สามารถหาชมการแต่งกายของชาวอีสานแบบดั้งเดิมได้ตามหมู่บ้านในชนบท ซึ่งประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ยังคงแต่งกายแบบดั้งเดิม

อาชีพ
อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะดินของภาคอีสานเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำและการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ จึงจะพบว่าพอถึงหน้าแล้งประชาชนจะอพยพไปหางานทำต่างถิ่นเป็นจำนวนมาก ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อยเป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก

ชนเผ่าพื้นเมือง
ชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงโคราชนี้ จะประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า ดังนี้


  • ชาวไทยอีสาน ลาว

  • เวียดนาม(ญวน)

  • เขมร ส่วย (กุย) แสก ย้อ ผู้ไทย กะโส้ (โซ่)รวมทั้งไทยโคราช

วิถีการดำเนินชีวิต


วิถีการดำเนินชีวิต แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณี ที่เรียกว่า "ฮีตบ้านคองเมือง" และ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" สอนให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมสังคมและ งานบุญงานกุศลเป็นประจำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนต่างๆ เหล่านี้มีความสงบสุขตลอดมาตราบถึงปัจจุบัน


อาหารอีสาน


หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา


ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน


ลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่






    ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด


    ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น


    แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล


    อ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก


    อ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก


    หมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ


    อู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบ


    หม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆ


    หม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียว


    แจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก


    ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย ผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย




    การแต่งกาย


    ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

    ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย รวมทั้งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของเวียดนามเข้ามาด้วย ถึงแม้ปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้จะได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน (เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น) โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นในปัจจุบันได้รับการศึกษาที่ดีเหมือนกับชาวไทยทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคนไทยอีสานหรือคนเวียดนามกันแน่ ส่วนใหญ่ก็จะเห่อวัฒนธรรมตะวันตก(เหมือนเด็กวัยรุ่นของไทย)จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของตัวเอง แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุยังคงยึดมั่นกับวัฒนธรรมของตนเองอยู่อย่างมั่นคง ท่านสามรถศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเวียดนามได้ตามชุมชนชาวเวียดนามในจังหวัดที่กล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี
    ที่มา:http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/cultureindex.htm

    บทบาทของอินเตอร์เน็ตและอนาคตของอินเตอร์เน็ต


    ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตยังถือเป็นช่องทางกระจายสินค้าหรือตลาดได้อีกทางหนึ่ง โดยการซื้อขายผ่านเว็บเพจและทำการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
    การซื้อข่ายผ่านอินเตอร์เน็ตมีการเติบโตรวดเร็วเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการโชว์สินค้าต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็อาจมีข้อเสียคือผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบสินค้าได้จริง ถึงแม้ว่าในทางการค้ายังไม่เติบโตอย่างที่คาดไว้
    อินเตอร์เน็ตก็มีผลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักเรียนสามารถเรียนรู้และโต้ตอบกับครูในระยะไกลๆ ได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันนี้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีเปิดหลักสูตรปริญญาโทและเอกโดยการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ทางการแพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นๆ ก็ได้รับประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตมากเช่นกัน เนื่องจากอินเตอร์เน็ตได้ช่วยลดความห่างไกลกัน ผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายขึ้นเหมือกับอยู่ที่แห่งเดียวกัน
    อินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคน และจะมีอิทธิพลอย่างมากในโลกยุคต่อไป เนื่องจากอินเตอร์เน็ตจัดเป็นสื่อชนิดหนึ่งมันจึงมีอิทธิพลกับทุกๆ คนเหมือนกับวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์
    ดังที่เราจะเห็นได้จากบริษัทและหน่วยงานองค์กรแทบทั้งหมดจะมีโฮมเพจเป็นของตนเองเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลขององค์กรอย่างละเอียดในอินเตอร์เน็ต
    อินเตอร์เน็ตจะมีผลกระทบต่อทุกคนในทุกสาขาอาชีพ และจะเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งช่วยให้เกิดการไหลของกระแสดวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วในโลกสมัยใหม่ จึงทำให้ผู้ที่มีการศึกษาทุกคนจำเป็นต้องศึกษาอินเตอร์เน็ตเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกได้
    สิ่งที่ชี้ให้เห็นได้ชัดว่าอินเตอร์เน็ตได้ก้าวเข้ามาในชีวิตของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนคือ ในขณะนี้อินเตอร์เน็ตได้ถูกผนวกเข้ากับระบบปฏิบัติการที่ยอดนิยมที่สุดแล้ว ทำให้ Windows 98 สามารถจะใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของตัวโปรแกรมอย่างสมบูรณ์


    ที่ม:http://www.sss.ac.th/internet1.asp

    วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

    วัดป่ามหาเจดีย์ (วัดล้านขวด)

    วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล การเดินทางจากศรีสะเกษไปอำเภอขุนหาญสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 211 และ 2111 ผ่านอำเภอพยุห์ อำเภอไพรบึงไปขุนหาญระยะทางประมาณ 61 กิโลเมตร สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค เป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโม มหาเจดีย์แก้ว และนอกจากนี้ยังมีสิมน้ำ (โบสถ์) ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก

    เมรุล้านขวด


    โบสถ์ล้านขวด






    ประตูวัดล้านขวด



    ศาลาล้านขวด




    แทงค์น้ำล้านขวด

    กุฏิล้านขวด



    น้ำตกพรหมวิหาร/ Prom Wihan Waterfall

    น้ำตกพรหมวิหาร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภอขุนหาญ น้ำตกแห่งนี้มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ใกล้กับน้ำตกพรหมวิหารนั้น จะเป็นหน้าผาสูง ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขาและทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน หน้าผานี้เรียกว่า ผาพรหมวิหาร การเดินทางเข้าน้ำตกนั้นสะดวกสบาย โดยจะผ่านน้ำตกห้วยจันทร์ก่อน แล้วต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตก ซึ่งห่างจากอำเภอขุนหาญประมาณ 22 กิโลเมตรครับ

    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

    วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

    ปราสาทเขาพระวิหาร (Prasat Preah Vihear)









    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น



    ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเร็ก (ดองเร็ก) ภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาไม้คาน ซึ่งกั้นพรหมแดนระหว่าง ไทยกับกัมพูชา มีความสูงจากพื้นดิน 547 เมตร และระดับความสูง 657 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พระวิหารหรือในภาษาเขมรเรียกว่า เปรียะวิเหียร หมายถึงสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ สำหรับสถานที่ตั้งและทิศทางปราสาทเขาพระวิหารนั้น ปรากฏว่าปราสาทแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือแทนการหันไปสู่ทิศตะวันออก ดังเช่นศาสนสถานแบบเขมรโดยทั่วไป โดยหลักการแล้วการสถาปนาปราสาทขึ้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อ การรังสรรค์ที่ประทับของเทพเจ้าตามแบบจำลองของพระราชวังบนสรวงสวรรค์ ปราสาทเขาพระวิหาร ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาทราย จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน องค์ประกอบทั้งหมดของศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาลาดลงตามไหล่เขาพระวิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงเร็ก ในวัฒนธรรมเขมรได้ให้ความสำคัญแก่ยอดเขาโดยถือว่ายอดเขาเป็นสถานที่ซึ่งได้รับการเลือกสรรมาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ตั้งแต่กลางสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 ได้เริ่มนิยมสร้างศาสนสถานบนยอดเขาธรรมชาติตามความหมายของศาสนบรรพต เหนือยอดเขาพระวิหารซึ่งถือว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า โดยปกติแล้วทิศของศาสนสถานของเขมรทั้งหมดจะหันหน้าออกไปทางทิศตะวันออก แต่บางครั้งก็ต้องมีการปรับปรุงให้เข้ากับทางภูมิศาสตร์
    ปราสาทเขาพระวิหารปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนกัมพูชา ซึ่งอยู่ติดกับอำเภอ กันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    การเข้าชม เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00 น . – 16.30 น. ค่าเข้าชม ต้องเสียค่าธรรมเนียมสองด่าน คือค่าผ่านด่านเขาพระวิหารชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200บาท และค่าเข้าชมเขาพระวิหารที่เป็นการเก็บของด่านกัมพูชา ชาวไทยผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาทการเดินทาง จากศรีสะเกษไปทางอำเภอกันทรลักษณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 221 จะผ่านบ้านภูมิซร๊อล มาจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จะมีด่านตรวจ ผ่านด่านแล้วให้ขึ้นไปตามทางขึ้นเขา
    จากอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 24ที่ไปเดชอุดม มาจนถึงทางแยกเข้าทางหมายเลข 2085 ไปอำเภอกันทรลักษณ์ แล้วตรงไปตามทางดังกล่าว รถโดยสาร มีรถโดยสารจากอำเภอเมือง ศรีสะเกษ ไปถึงอำเภอกันทรลักษณ์ ออกทุกชั่วโมงแล้วเหมารถต่อไปปราสาท หรือเหมารถรับจ้างจากอำเภอเมืองปราสาทไป ราคาประมาณ 1,000 บาท


    อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
    อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จัดได้ว่าสะดวกที่สุด
    พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 และกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาค 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ซึ่งได้ทำความตกลงกับกรมป่าไม้ กำหนดพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และได้ขอให้กรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

    ผลจากการสำรวจเพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติปรากฏว่า สภาพป่าของพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ อยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าเขาพระวิหาร (ศก.7) ผ่านการทำไม้แล้ว กับอีกส่วนหนึ่งอยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ (อบ.2) มีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤาษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตาลและที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ ปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานสำคัญเก่าแก่ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2505 ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชาแล้วโดยเด็ดขาดก็ตาม แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารนั้นอยู่ด้านพื้นที่ของประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผ่านและอาศัยพื้นที่ทางขึ้นด้านบริเวณผามออีแดงที่จังหวัดศรีสะเกษ จัดว่าสะดวกที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ชาวไทยหรือชนชาติต่างๆ ที่ต้องการเดินทางไปศึกษาหาความรู้และพักผ่อนหย่อนใจบนปราสาทเขาพระวิหาร จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยโดยจังหวัดศรีสะเกษได้ประสานงานตกลงกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว ในเรื่องการขอใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวของสถานที่บริเวณส่วนบนปราสาทเขาพระวิหารแห่งนี้ร่วมกัน
    อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวักอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหารในท้องที่ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ


    คดีเขาพระวิหาร
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอีสาน สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ค้นพบปราสาทแห่งนี้ในปี 2442 พร้อมกับจารึกพระนามและ ร.ศ. ที่ค้นพบไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า “๑๑๘ สรรพสิทธิ” ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา ไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสรับผิดชอบเรื่องการทำแผนที่ โดยการเขียนแผนที่ในครั้งแรกเขาพระวิหารยังอยู่ในเขตแดนของไทย แต่ในปี 2450 มีการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติมและมีการกำหนดเขตแดนกันใหม่ ปรากฏว่าเขาพระวิหารตกไปอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชา แต่ไทยก็ไม่ได้ทักท้วงประการใด จึงเท่ากับยอมรับไปโดยปริยาย
    อย่างไรก็ตามไทยยังใช้สิทธิครอบครองเขาพระวิหารเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2502 เจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กัมพูชา ยื่นฟ้องต่อ ศาลระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ภายหลังการไต่สวนถึง 3 ปี มีการนัดสืบพยาน 73 ครั้ง จนในที่สุดศาลโลกตัดสินให้ กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดี ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง
    ในเวลาต่อมากัมพูชาเสนอให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกต่อองค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสเชิร์ช นิวซีแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2550 แต่ไทยกับกัมพูชามีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายไทยกล่าวว่าควรแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่เขตแดนทับซ้อนรอบปราสาทก่อนแล้วจึงค่อยเสนอ จนกระทั่งใกล้ถึงการประชุมสมัยที่ 32 ที่แคนาดา ในปีถัดมา ก็ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกัน และถ้าหากเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยอ้างอิงจากแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำ จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนถอยร่นเข้ามาประมาณ 7.2 ตารางกิโลเมตร
    วันที่ 23 มิถุนายน 2551 เวลา 10.15 น. ได้มีขบวนกลุ่มธรรมยาตราชาวไทย มาชุมนุมขับไล่ผลักดันชาวกัมพูชาให้ออกไปจากเขตแดนไทย ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร หลังจากนั้น พล.ต.ย็อก วันล็อก ประธานคณะทำงานขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา พร้อมด้วย นายเปรี๊ยบ ตัน ผวจ.พระวิหาร ได้มีคำสั่งให้นำเอากุญแจมาล็อกประตูเหล็กที่ข้ามเข้าไปสู่เขาพระวิหาร และมีกำลังทหารกัมพูชาจำนวนหลายร้อยคน พร้อมด้วยอาวุธหนักและอาวุธเบาแต่งเครื่องแบบ พากันมาตรึงกำลังรอบบริเวณเขาพระวิหาร ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ขึ้นไปยังปราสาทเขาพระวิหารเป็นการชั่วคราว เนื่องจากอาจจะมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีแอบแฝงเข้ามาก่อเหตุร้ายในบริเวณชุมชนกัมพูชาที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร

    ที่อยู่ : คณะวิทยาศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม